ปลาทองรันชู
หากจะกล่าวถึงสิ่งที่น่าสนใจของปลาทองรันชูด้วยคำพูดสั้นๆ คงเป็นเรื่องยาก ด้วยเสน่ห์ของปลาทองชนิดนี้ ที่ต่างจากปลาทองชนิดอื่น ทำให้ผู้คนต่างให้ความสนใจและหันมาเริ่มเลี้ยงปลาทองชนิดนี้กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น "การเป็นปลาที่ชื่นชมความงามจากมุมมองด้านบน (TOP VIEW)" ความสวยงามของหางที่แสดงถึงพวงหางที่สวยงาม ส่วนหัวที่พอเริ่มมีอายุก็จะมีก้อนเนื้อวุ้นที่เติบโตตามตัวแสดงถึงสัญลักษณ์แห่งมังกร หรือบางทีเน้นที่เขี้ยวปลาดูองอาจมีสง่าราศี เกล็ดที่เรียงรายกันอย่างเป็นระเบียบและสะท้อนรับกับแสงไฟหรือแสงอาทิตย์ สันหลังที่ปราศจากครีบโค้งมนรับกับรูปทรงของตัวปลา และสีสันสวดลายที่สะดุดตาผู้ชมยิ่งนัก จึงไม่แปลกเลยที่ปลาทองรันชูนี้จะดึงดูดความสนใจของผู้ที่ได้พบเห็นมัน และชักชวนให้เริ่มมาเป็นเจ้าของเลี้ยงดูกัน
การเลือกดูลักษณะเด่นของปลาทองรันชู
กล่าวคือการเริ่มดูปลาสำหรับนักเลี้ยงปลาทองรันชูมือใหม่นั้นคงจะยังไม่ทราบว่าเขาเริ่มดูจาก ด้านบนของตัวปลา(Top View) เราจึงขอแนะนำท่านให้เริ่มดูกันจากจุดนี้ การตัดสินปลาที่เข้าตากรรมการก็จะใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
กล่าวคือการเริ่มดูปลาสำหรับนักเลี้ยงปลาทองรันชูมือใหม่นั้นคงจะยังไม่ทราบว่าเขาเริ่มดูจาก ด้านบนของตัวปลา(Top View) เราจึงขอแนะนำท่านให้เริ่มดูกันจากจุดนี้ การตัดสินปลาที่เข้าตากรรมการก็จะใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
1. รูปทรงและความสมดุลของปลา เมื่อได้มองจากด้านบนในขณะที่ปลากำลังว่ายอยู่นั้น จะเริ่มพิจารณาลักษณะการว่ายของปลาซึ่งจะมองโดยรวมก่อน หลังจากนั้นก็จะเริ่มดูไล่ลงไปจากส่วนหัว ลำตัวและส่วนหาง สังเกตว่ามีส่วนไหนผิดปกติหรือไม่ตรงตามมาตราฐานหรือไม่ แล้วจึงค่อยลงความเห็นว่าลักษณะการว่ายสมดุลดีหรือเปล่า
2. ความอ้วนของปลา ปลาทองรันชูที่ผอมไปนั้น จัดว่าเป็นปลาทองที่ดูไม่ดี และไม่เป็นที่นิยมมากนัก โดยทั่วไปเมื่อมองที่ความกว้างของลำตัวแล้ว จะต้องสังเกตควบคู่ไปด้วยกับโคนหาง กล่าวคือหากปลามีลำตัวที่ใหญ่ก็จะต้องมีโคนหางที่ใหญ่ตามไปด้วย ถ้าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่โคนหางเล็ก คะแนนนิยมก็จะตกลงไปมากทีเดียว
3. การเรียงแถวของเกล็ด และ ความสวยงามของสีสันลวดลาย การเรียงลำดับของเกล็ดที่มีขนาดเล็ดนั้นควรจะเรียงเป็นแนวเดียวกันในแต่ละแถวไม่กระจัดกระจาย และเกล็ดควรจะแวววาวสะท้อนแสงไฟ ส่วนสีสันนั้นจะขาวหรือแดงก็ควรจะเป็นสีที่เข้มสด
4. ปลาที่มีสง่าราศี เมื่อมองโดยภาพรวมแล้ว รูปโฉมและการว่ายของปลาตัวนั้นต้องดูมีสง่าราศี
5. การว่ายน้ำของปลารันชู สำคัญเหมือนกันเพราะปลาที่ไม่ได้มาตราฐานมันจะมีการว่ายที่บ่งบอกให้รู้เช่นกัน สำหรับลีลาการแหวกว่ายของปลา จะต้องมีลีลาที่ปราดเปรียว ไม่อืดอาดหรือเชื่องช้าและไม่ว่ายด้วยท่าทีที่แปลก ๆ เหมือนจะบ่งบอกให้รู้ถึงลักษณะหางที่ไม่ดี
สีและลวดลายมาตราฐานของปลาทองรันชู
(1) โคมาโดะ บนส่วนหัวที่เป็นสีแดงจะเห็นเป็นจุดเหลี่ยมสีขาวขนาดเล็กปรากฎ
(2) โอมาโดะ บนส่วนหัวที่เป็นสีแดงเห็นเป็นจุดเหลี่ยมสีขาวขนาดใหญ่ปรากฎชัดเจน
(3) เม็ง คาบุร ส่วนหัวเท่านั้นที่เป็นสีแดง ส่วนอื่น ๆ จะป็นสีขาว หรือลวดลายก็ได้
(4) เม็ง จิโร่ ส่วนหัวเท่านั้นที่เป็นสีขาว ส่วนอื่น ๆ จะป็นสีแดง หรือลวดลายก็ได้
(5) คันชาชิ บนส่วนหัวที่เป็นสีขาวจะปรากฏสีแดงที่ปลายตาเล็กน้อย
(6) ตันโจ จะมีสีแดงปรากฏเด่นอยู่ที่ส่วนหัว ซึ่งเป็นสีขาว
(7) ฮิโนะมาร บนสันหลังที่เป็นสีขาวจะปรากฏเป็นวงกลมสีแดงดุจดังดวงอาทิตย์
(8) สุอากะ นอกจากบริเวณครีบหางแล้ว ตั้งแต่ส่วนหัวลงมาจะเป็นสีแดงทั้งหมด
(9) โซโจ ตั้งแต่ส่วนหัวจรดหางจะไม่มีสีอื่น ๆ เลย นอกจากแดงทั้งตัว
(10) อะสุกิ ซาระสะ มีลวดลายเป็นจุดแต้มสีแดงคล้ายเม็ดถั่วแดงอยู่บริเวณด้านข้างลำตัว
(11) โคชิ จิโร่ ความหมายตามชื่อก็คือมีส่วนเอวเป็นสีขาว จะสังเกตได้ว่าที่โคนหางเป็นสีขาวคั่นกลาง
(12) คาสึ บุชิ ลักษณะคล้ายกับสวมหมวกสีแดงคาดอยู่
(13) อิจิ มงจิเป็นลักษณะที่มีลายพาดขวางสลับเฉียงกันระหว่างสีแดงกับสีขาวเริ่มตั้งแต่ปากลงมา
(14) คุจิ เบนิ สีขาวเป็นพื้นแต่จะมีสีแดงแต้มที่ริมฝีปากและที่หางอีก 3 จุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น