วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

ปลาทองโตซากิ้น

ปลาทองโตซากิ้น

 ปลาทองพันธุ์โตซากิ้น 
TOSAKIN หรือที่ชาวญี่ปุ่นนิยม
เรียกชื่อสั้นๆว่า "TOSA" 
เป็นปลาทองที่ถือ

กำเนิดขึ้นมาในราวปี ค.ศ. 1845 ณ เมืองKOCHI 
ในประเทศญี่ปุ่นโดย
 นาย KATSUSABURO SUGA ได้นำปลาทอง
หัวสิงห์สายพันธุ์โอซาก้ามาผสมข้ามพันธุ์กับปลาทอง
ริวกิ้น ซึ่งเขาได้พบว่าลูกปลาทองที่เพาะพันธุ์ขึ้น
ได้มีบางส่วนมีลักษณะผ่าเหล่าไปจากลูกปลาทองตัว
อื่นๆ โดยลูกปลาที่มีลักษณะผ่าเหล่าจะมีส่วนหาง
ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากปลาทองทั่วๆไป 
อย่างแทบไม่น่าเชื่อ เพราะครีบของปลาทองเหล่านั้นแทนที่จะตั้งชันหรือเบ่งบานเหมือนปลา
พ่อแม่พันธุ์แต่กลับมีปลายหางทั้งสองลักษณะรวมอยู่ในตัวเดียวกัน นั่นคือ ครีบหางด้านข้าง
ทั้งสองข้างจะตั้งชันและยื่นชี้ไปทางด้านหน้าของลำตัว ส่วนครีบหางตรงกลางกลับหักมุมลง
ด้านล่าง ช่วยให้ครีบหางของปลาเกิดเป็นรอนคล้ายรูปคลื่น โดยเฉพาะหางของปลามี
ลักษณะบานสำหรับเกณฑ์การพิจารณาความสวยงามของปลาโดยมากจะพิจารณาจาก
ความสวยงามของครีบหางเป็นหลัก ปลาที่สวยจะต้องมีครีบหางเบ่งบานและเป็นลอนสวยงาม 
โดยเฉพาะครีบหางที่อยู่กึ่งกลางลำตัวควรบานแผ่ออกและมีลักษณะโค้งได้รูป
 ส่วนครีบด้านข้างทั้งสองข้างควรกางแผ่ออกโดยทำมุมฉากกับลำตัว สำหรับในด้านของ
รูปทรงของตัวปลาให้พิจารณาโดยยึดถือหลักเกณฑ์เดียวกับการดูลักษณะปลาทองริวกิ้น
ที่จัดว่าสวย เพราะปลาทั้งสองสายพันธุ์จะมีรูปทรงที่คล้ายคลึงกัน
 เพียงแต่ปลาทองโทซะคิงอาจมีลักษณะที่เพรียวยาวกว่า ส่วนในด้านของสีสัน ปลาทองสายพันธุ์นี้
โดยทั่วไปจะมีสีแดงหรือไม่ก็สีแดงสลับขาว สีแดงควร            
 มีสีเข้มสด ส่วนสีขาวควรมีสีขาวบริสุทธิ์

คล้ายกับว่าหางของปลาได้รับการออกแบบประดิดประดอยขึ้นมาโดยเฉพาะจากลักษณะเน้นที่
ไม่มีใครเหมือน ทำให้ปลาสายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลายในระยะเวลาอันสั้น
นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็จะมีอายุมากกว่าร้อยปีล่วงมาแล้ว จึงพอพิสูจน์ได้ว่าปลาทองสายพันธุ์
นี้เป็นปลาทองที่อยู่ในความนิยมของนักเลี้ยงปลามาเป็นเวลาอันช้านาน แต่เนื่องจากปลาทอง
สายพันธุ์นี้เป็นปลาทองที่มีลักษณะบอบบางและค่อนข้างเลี้ยงยากกว่าปลาทองสายพันธุ์อื่นๆ 
จึงทำให้ได้รับความนิยมมีไม่แพร่หลายเท่าที่ควร
 เทคนิคในการเลี้ยงปลาทองพันธุ์นี้จำเป็นต้องให้ความพิถีพิถันเป็นพิเศษเพราะเลี้ยงไม่ถูกวิธีทำ
ให้ปลาเสียความงามไป จึงต้องจำกัดเนื้อที่และความสูงของน้ำให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ให้เนื้อ
ที่ว่ายน้ำมีมากเกินไป น้ำไม่ควรสูงเกินกว่า นิ้ว ส่วนเนื้อที่มีขนาด 70*70 ซม. ต่อปลาขนาดใหญ่
 6 -8 ตัว การเลี้ยงปลาควรไว้ในที่ร่มซึ่งมีแดดส่องถึง อุณหภูมิไม่สูงมากควรควบคุมให้ได้ในระดับ 
15-25 องศาเซลเซียส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น