วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

ปลาทองพันธุ์ ชูบุงกิง

ปลาทองพันธุ์ ชูบุงกิง



ปลาทองชูบุงกิง (SHUBUNKIN) มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ

อยู่ด้วยกันหลายชื่อ อาทิเช่น 

SPECKLED GOLDFISH, 

HARLEQUIN GOLDFISH,

 VERMILION GOLDFISH 

และ RED BROCADE เป็นปลาที่เพิ่งเกิดขึ้นในต้นศตวรรษที่

 20 นี้ โดยนักเพาะพันธุ์ปลาทองจากนครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

 คือ นาย Kichigoro Akiyama โดยนำปลาทอง ชนิด คือ

 ปลาทองพันธุ์ตาโปน 3 สี (5สี) (Calico Telescope Eye) 

มาผสมข้ามพันธุ์กับปลาทองพันธุ์วะกิง (Japanese Golden)

 ซึ่งมีหางเดี่ยว หรือหางซิว (Single Tial) ต่อมาก็นำมาผสมกับ

ปลาทองพันธุ์ Scarlet Crucian (Hibuna) จากนั้นเขาก็

ได้คัดเลือกลูกปลาขึ้นมาราว 14-15 ตัวจากจำนวนปลาทั้งสิ้น

 หมื่นกว่าฟอง ซึ่งลูกปลาที่เขาเพาะพันธุ์ขึ้นได้มีหางยาวมี

เกล็ดบางใสและมีสีหลากหลายสีอยู่ในตัวเดียวกัน 

ซึ่งนาย Shinnosuke Matsubara ได้ขนานนามให้ปลาตัวนี้ว่า

 “Red Marked Calico” หรือ "Shubunkin"ต่อมาลูกปลาทอง

ชูบุงกิงได้เข้าไปแพร่หลายในประเทศอังกฤษในสมัยราชาภิเษก

อวยพรเจ้ายอร์ชที่ 6 ในสมัยนั้นได้มีพ่อค้าปลาบางรายได้ตั้ง

ชื่อปลาชนิดนี้ว่า “Coronation Fish” หรือปลาราชาภิเษก

 ทั้งนี้เพราะปลาชนิดนี้มีจุดประขึ้นเป็นสีต่างๆ แต่ชื่อนี้ก็ใช้

เพียงเพื่อผลประโยชน์ในเชิงการค้าเท่านั้นและในเวลาต่อ

มาปลาทองชนิดนี้ ก็ได้วิวัฒนาการจนได้ปลาทอง สายพันธุ์ 

London Shubunkin และ Bristol Shubunkin ซึ่งปลาทองทั้ง 

สายพันธุ์จะมีรูปร่างและสีสันที่เหมือนๆ กัน ต่างกันตรง

ที่ปลาทอง Bristol Shubunkin จะมีครีบและหางยื่นยาวและสูงกว่า 

แต่แบบ London Shubunkin ดูจะได้รับความนิยมมากว่า

ในประเทศอังกฤษ

ปลาทองชูบุงกิงเป็นปลาทองที่มีความแข็งแรง

อดทนมากชนิดหนึ่ง

 มีเกล็ดบางใสแต่ไม่เงาแวววาว

เหมือนปลาทองทั่วๆไป ลำตัวมีลักษณะคล้าย

ปลาทองสามัญแต่จะ

เพรียวกว่า มีครีบที่สมบรูณ์และยาว

กว่า ปลายหางจะมนกลม เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วและต้องการพื้นที่ในที่เลี้ยง

พอสมควร ปลาทองชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดถัวเฉลี่ยราว นิ้ว มีอายุยืนยาวราว

 10-20 ปี จัดว่าเป็นปลาทองที่ค่อนข้างเลี้ยงง่าย สามารถเลี้ยงได้ในกลางแจ้งตลอดทั้งปี

 เป็นปลาที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี สามารถเลี้ยงได้ในที่ๆ

แม้มีอุณหภูมิต่ำ แต่ไม่ควรให้ปลาอยู่ในที่ๆ มีอุณหภูมิต่ำกว่า60 องศาF

 เป็นระยะเวลานานๆ เพราะความเย็นอาจทำให้กระเพาะลมของปลาเกิดการผิดปกติ

 ปลาชนิดนี้มีด้วยกันหลากหลายสี อาทิเช่น สีแดง ขาว ส้ม ทอง น้ำตาล ดำ เหลือง ม่วงเข้ม

 น้ำเงินเทาสำหรับในบ้านเราปลาทองพันธุ์ชูบุงกิงมันรู้จักดีในนามของ ปลาทองหางซิว 

แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลายนัก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเป็นปลาทองที่รูปร่าง

ธรรมดาๆ จึงทำให้ไม่ค่อยเป็นที่สนใจกันเท่าใด แต่ถ้าหากท่านนักเลี้ยงปลาได้รู้ถึงความ

ยากเย็นกว่าที่จะได้ปลาทองพันธุ์นี้มา คิดว่าคงมีหลายๆท่านอาจจะหันมาสนใจปลาทองพันธุ์

นี้กันบ้าง นอกจากนี้ปลาทองชนิดนี้ยังเป็นปลาที่เหมาะ

ที่จะนำมาเลี้ยงไว้ในบ่อหรือสระเล็กๆ เพราะเป็นปลาที่มีความอดทนและสามารถเลี้ยงในกลางแจ้ง

ได้อีกด้วยคราวนี้เราจะมาคุยกันถึงลักษณะของปลาทองพันธุ์ชูบุงกิงที่จัดว่าสวย ลักษณะสำคัญของ

ปลาทองพันธุ์นี้คือหาง หางจะต้องเป็นแบบหางซิวและจะต้องยาว ปลาทองชนิดนี้หากมีหางยาวมาก

เท่าใดก็จะเป็นที่นิยมมากเท่านั้น สำหรับในด้านของสีสัน หากมีหลายสีก็จะเป็นที่นิยมกัน 

แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุดจะต้องมี สี เป็นจุดประทั่วทั้งตัว ปลาที่มีสีเหลืองมากว่าสีอื่นจะ

ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเลี้ยงกัน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น