วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

ปลาทองตาลูกโป่ง

 ปลาทองตาลูกโป่ง




หลายเสียงต่างวิจารณ์กันไปต่าง ๆ นานานเกี่ยว
กับรูปร่างอันแปลกประหลาดของเจ้าปลาสายพันธุ์
นี้ 
เนื่องจากมันมีเบ้าตาที่ค่อนข้างพิเศษพิศดารกว่า
ปลาทองพันธุ์อื่น ๆ นั่นคือ เบ้าตาของมันมีความ
ใหญ่โตผิดแผกแตกต่างจากปลาทองโดยทั่วไป
โดยสิ้นเชิง เบ้าตาของปลาขนิดนี้มีขนาด
ใหญ่โตและ
ดูคล้ายมีลูกโป่งติดอยู่ที่ดวงตาของมันและนี่ก็คือ
ที่มาของชื่อ ปลาทองตาลูกโป่ง
ปลาทองพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีน
 ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ มีตาที่ใหญ่โตคล้าย
มีลูกโป่งห้อยติดอยู่ที่ดวงตาทั้ง ข้าง ยามเมื่อ
ปลาแหวกว่ายลูกโป่งทั้ง ข้าง จะกวัดแกว่งไปมา
อย่างน่าหวาดเสียวว่ามันจะแตกหรือเปล่า
 ความยาวเมื่อโตเต็มที่ของปลาชนิดนี้จะอยู่ในช่วงประมาณ 
นิ้ว โดยปกติทั่ว ๆ ไปปลาชนิดนี้จะมีสีขาว สีส้ม สีส้มสลับขาว และส้มเหลือง จัดว่าเป็นปลา
ที่มีสายตา
ไม่ค่อยดีนักและค่อนข้างเป็นปลาที่เปราะบาง เนื่องจากหากถุงลูกโป่งถูกกระทบกระแทก
เพียงเล็กน้อยก็อาจแตกได้ ดังนั้นการเลี้ยงปลาชนิดนี้จำเป็นต้องอาศัยความละเอียดอ่อนและการ
เอาใจใส่ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรเลี้ยงปลาชนิดนี้รวมกับปลาชนิดอื่น เพราะตาของมันอาจ
ถูกปลาตัวอื่นตอดทำร้ายจนได้รับอันตรายได้
อันที่จริงแล้วปลาทองตาลูกโป่งจัดว่าว่ายน้ำได้เร็ว แต่เนื่องจากส่วนหัวของมันถูกถ่วงไว้ด้วยลูกโป่ง
จึงทำให้การว่ายน้ำไม่สู้สะดวกนัก โดยเฉพาะปลาที่มีลูกโป่งขนาดใหญ่มาก ๆ จะว่ายน้ำได้เชื่องช้า
เป็นพิเศษ แต่ในทางตรงกันข้ามปลาที่มีตาลูกโป่งขนาดใหญ่มาก ๆ นั้น เป็นปลาที่มนุษย์จัดว่ามี
คามสวยงามมากเป็นพิเศษ
ปลาชนิดนี้เมื่อมีอายุได้ 6-9 เดือน ถุงเบ้าตาก็จะเริ่มเจริญเติบโตให้เห็นเด่นชัด และเมื่ออายุ
ได้ ปีก็จะเจริญพันธุ์เต็มที่ ส่วนปัญหาที่มักเกิดกัปลาชนิดนี้ คือ อาการตกเลือดที่ถุงเบ้าตา
 วิธีแก้ก็โดยการใช้เข็มเจาะเอาเลือดที่ตกค้างอยู่ในนั้นออก จากนั้นไม่นานลูกโป่งก็จะหายเป็น
ปกติ ส่วนกรณีที่ตาลูกโป่งของปลาเกิดการกระทบกระแทกจนลูกโป่งแตก หากไม่รุนแรง
นักปลาก็หายเป็นปกติในไม่ช้า แต่ถ้ากระแทกอย่างรุนแรงปลาอาจตายได้เช่นกัน
 ดังนั้นจึงควรระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ
 โดยเฉพาะในช่วงการดูดเปลี่ยนน้ำไม่ควรให้ปลาว่ายเข้าใกล้ท่อดูดน้ำมากนักเพราะลูกโป่ง
อาจถูกท่อดูดจนแตกได้อ่างที่ใช้เลี้ยงควรเป็นอ่างที่มีปากอ่างกว้างเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาว่าย
ไปชนถูกขอบอ่างจนทำให้ปลาได้รับบาดเจ็บ สำหรับระดับน้ำที่ใช้เลี้ยงก็ไม่ควรต่ำกว่า 
นิ้ว แต่ไม่ควรสูงเกินกว่า นิ้ว เพราะถ้าหากระดับน้ำสูงเกินไปจะทำให้ปลาเสียการทรงตัว
ได้ง่าย และลูกโป่งจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ขณะเดียวกันหากระดับน้ำต่ำมากเกินไปก็
อาจทำให้ถุงน้ำเบ้าตาถูถูกพื้นอ่างอยู่เสมอ ๆ จนเป็นเหตุให้ถุงอาจแตก
ปลาชนิดนี้จะมีอายุได้ราว 5-10 ปี ซึ่งจัดว่าค่อนข้างมีอายุสั้นเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่น ๆ         
  ปลาชนิดนี้นอกจากจะเลี้ยงยากแล้ว ยังให้ลูกได้น้อยอีกด้วย และเป็นปลาที่มีอัตราการเติบ
โตที่ค่อนข้างช้า 
ในขณะที่ลูกปลาชนิดนี้ที่มีขนาดเล็กก็ไม่เป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาเท่าใดนัก เนื่อจากลูก
ปลายังไม่มีลูกโป่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ที่สามารถจะดึงดูดความสนใจจากนักเลี้ยงปลาได้ 
อีกทั้งปลาชนิดนี้หาที่มีรูปร่างและสัดส่วนที่สมบูรณ์ค่อนข้างยาก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม
เมื่อปลาชนิดนี้โตเต็มที่ก็จะเริ่ม
เป็นที่นิยมเลี้ยงกันพอสมควร เพราะเอกลักษณ์เฉพาะตัวจะเริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัด

ปลาทองหัวสิงห์ตามิด

ปลาทองหัวสิงห์ตามิด

 ปลาทองสายพันธุ์นี้เป็นปลาทองที่มีสีดำตลอดทั้งตัว บริเวณส่วนหัวจะมีวุ้นขึ้นดกหนากว่าปลาทอง
หัวสิงห์สายพันธุ์อื่น ๆ โดยเฉพาะปลาที่จัดว่าสวย จะมีวุ้นขึ้นปกคลุมบนส่วนหัวมากจะแทบมอง
ไม่เห็นลูกตา ทำให้นักเลี้ยงปลาบางคนเข้าใจผิดคิดว่าปลาทองสิงห์ดำตามิดเป็นปลาที่ไม่มีลูกตา
 หรือ ตาบอด

วิธีการสังเกตปลาทองสิงห์ดำตามิดที่จัดอยู่ในเกณฑ์สวย1. ปลาจะต้องมีลำตัวเป็นสีดำสนิทและจะต้องไม่มีสีอื่นแซม
2. วุ้นบนหัวควรจะขึ้นปกคลุมลูกตาจนมิด ยิ่งวุ้นขึ้นหนามากเท่าใด ก็ยิ่งช่วยให้ปลาตัวนั้น
เป็นปลามีราคามากขึ้นเท่านั้น
3. ท้องของปลาจะต้องมีสีดำสนิทไม่ใช่เป็นสีทองหรือขาว
4. เมื่อปลาโตขึ้นสีดำจะต้องไม่ลอกหรือสีซีดจางลงหรือมีสีอื่นขึ้นแซม

ปลาทองโตซากิ้น

ปลาทองโตซากิ้น

 ปลาทองพันธุ์โตซากิ้น 
TOSAKIN หรือที่ชาวญี่ปุ่นนิยม
เรียกชื่อสั้นๆว่า "TOSA" 
เป็นปลาทองที่ถือ

กำเนิดขึ้นมาในราวปี ค.ศ. 1845 ณ เมืองKOCHI 
ในประเทศญี่ปุ่นโดย
 นาย KATSUSABURO SUGA ได้นำปลาทอง
หัวสิงห์สายพันธุ์โอซาก้ามาผสมข้ามพันธุ์กับปลาทอง
ริวกิ้น ซึ่งเขาได้พบว่าลูกปลาทองที่เพาะพันธุ์ขึ้น
ได้มีบางส่วนมีลักษณะผ่าเหล่าไปจากลูกปลาทองตัว
อื่นๆ โดยลูกปลาที่มีลักษณะผ่าเหล่าจะมีส่วนหาง
ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากปลาทองทั่วๆไป 
อย่างแทบไม่น่าเชื่อ เพราะครีบของปลาทองเหล่านั้นแทนที่จะตั้งชันหรือเบ่งบานเหมือนปลา
พ่อแม่พันธุ์แต่กลับมีปลายหางทั้งสองลักษณะรวมอยู่ในตัวเดียวกัน นั่นคือ ครีบหางด้านข้าง
ทั้งสองข้างจะตั้งชันและยื่นชี้ไปทางด้านหน้าของลำตัว ส่วนครีบหางตรงกลางกลับหักมุมลง
ด้านล่าง ช่วยให้ครีบหางของปลาเกิดเป็นรอนคล้ายรูปคลื่น โดยเฉพาะหางของปลามี
ลักษณะบานสำหรับเกณฑ์การพิจารณาความสวยงามของปลาโดยมากจะพิจารณาจาก
ความสวยงามของครีบหางเป็นหลัก ปลาที่สวยจะต้องมีครีบหางเบ่งบานและเป็นลอนสวยงาม 
โดยเฉพาะครีบหางที่อยู่กึ่งกลางลำตัวควรบานแผ่ออกและมีลักษณะโค้งได้รูป
 ส่วนครีบด้านข้างทั้งสองข้างควรกางแผ่ออกโดยทำมุมฉากกับลำตัว สำหรับในด้านของ
รูปทรงของตัวปลาให้พิจารณาโดยยึดถือหลักเกณฑ์เดียวกับการดูลักษณะปลาทองริวกิ้น
ที่จัดว่าสวย เพราะปลาทั้งสองสายพันธุ์จะมีรูปทรงที่คล้ายคลึงกัน
 เพียงแต่ปลาทองโทซะคิงอาจมีลักษณะที่เพรียวยาวกว่า ส่วนในด้านของสีสัน ปลาทองสายพันธุ์นี้
โดยทั่วไปจะมีสีแดงหรือไม่ก็สีแดงสลับขาว สีแดงควร            
 มีสีเข้มสด ส่วนสีขาวควรมีสีขาวบริสุทธิ์

คล้ายกับว่าหางของปลาได้รับการออกแบบประดิดประดอยขึ้นมาโดยเฉพาะจากลักษณะเน้นที่
ไม่มีใครเหมือน ทำให้ปลาสายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลายในระยะเวลาอันสั้น
นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็จะมีอายุมากกว่าร้อยปีล่วงมาแล้ว จึงพอพิสูจน์ได้ว่าปลาทองสายพันธุ์
นี้เป็นปลาทองที่อยู่ในความนิยมของนักเลี้ยงปลามาเป็นเวลาอันช้านาน แต่เนื่องจากปลาทอง
สายพันธุ์นี้เป็นปลาทองที่มีลักษณะบอบบางและค่อนข้างเลี้ยงยากกว่าปลาทองสายพันธุ์อื่นๆ 
จึงทำให้ได้รับความนิยมมีไม่แพร่หลายเท่าที่ควร
 เทคนิคในการเลี้ยงปลาทองพันธุ์นี้จำเป็นต้องให้ความพิถีพิถันเป็นพิเศษเพราะเลี้ยงไม่ถูกวิธีทำ
ให้ปลาเสียความงามไป จึงต้องจำกัดเนื้อที่และความสูงของน้ำให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ให้เนื้อ
ที่ว่ายน้ำมีมากเกินไป น้ำไม่ควรสูงเกินกว่า นิ้ว ส่วนเนื้อที่มีขนาด 70*70 ซม. ต่อปลาขนาดใหญ่
 6 -8 ตัว การเลี้ยงปลาควรไว้ในที่ร่มซึ่งมีแดดส่องถึง อุณหภูมิไม่สูงมากควรควบคุมให้ได้ในระดับ 
15-25 องศาเซลเซียส

ปลาทองรันชู

ปลาทองรันชู

หากจะกล่าวถึงสิ่งที่น่าสนใจของปลาทองรันชูด้วยคำพูดสั้นๆ คงเป็นเรื่องยาก ด้วยเสน่ห์ของปลาทองชนิดนี้ ที่ต่างจากปลาทองชนิดอื่น ทำให้ผู้คนต่างให้ความสนใจและหันมาเริ่มเลี้ยงปลาทองชนิดนี้กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น "การเป็นปลาที่ชื่นชมความงามจากมุมมองด้านบน (TOP VIEW)ความสวยงามของหางที่แสดงถึงพวงหางที่สวยงาม ส่วนหัวที่พอเริ่มมีอายุก็จะมีก้อนเนื้อวุ้นที่เติบโตตามตัวแสดงถึงสัญลักษณ์แห่งมังกร หรือบางทีเน้นที่เขี้ยวปลาดูองอาจมีสง่าราศี เกล็ดที่เรียงรายกันอย่างเป็นระเบียบและสะท้อนรับกับแสงไฟหรือแสงอาทิตย์ สันหลังที่ปราศจากครีบโค้งมนรับกับรูปทรงของตัวปลา และสีสันสวดลายที่สะดุดตาผู้ชมยิ่งนัก จึงไม่แปลกเลยที่ปลาทองรันชูนี้จะดึงดูดความสนใจของผู้ที่ได้พบเห็นมัน และชักชวนให้เริ่มมาเป็นเจ้าของเลี้ยงดูกัน

การเลือกดูลักษณะเด่นของปลาทองรันชู
          
กล่าวคือการเริ่มดูปลาสำหรับนักเลี้ยงปลาทองรันชูมือใหม่นั้นคงจะยังไม่ทราบว่าเขาเริ่มดูจาก ด้านบนของตัวปลา(Top View) เราจึงขอแนะนำท่านให้เริ่มดูกันจากจุดนี้ การตัดสินปลาที่เข้าตากรรมการก็จะใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
1. รูปทรงและความสมดุลของปลา เมื่อได้มองจากด้านบนในขณะที่ปลากำลังว่ายอยู่นั้น จะเริ่มพิจารณาลักษณะการว่ายของปลาซึ่งจะมองโดยรวมก่อน หลังจากนั้นก็จะเริ่มดูไล่ลงไปจากส่วนหัว ลำตัวและส่วนหาง สังเกตว่ามีส่วนไหนผิดปกติหรือไม่ตรงตามมาตราฐานหรือไม่ แล้วจึงค่อยลงความเห็นว่าลักษณะการว่ายสมดุลดีหรือเปล่า
2. ความอ้วนของปลา ปลาทองรันชูที่ผอมไปนั้น จัดว่าเป็นปลาทองที่ดูไม่ดี และไม่เป็นที่นิยมมากนัก โดยทั่วไปเมื่อมองที่ความกว้างของลำตัวแล้ว จะต้องสังเกตควบคู่ไปด้วยกับโคนหาง กล่าวคือหากปลามีลำตัวที่ใหญ่ก็จะต้องมีโคนหางที่ใหญ่ตามไปด้วย ถ้าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่โคนหางเล็ก คะแนนนิยมก็จะตกลงไปมากทีเดียว
3. การเรียงแถวของเกล็ด และ ความสวยงามของสีสันลวดลาย การเรียงลำดับของเกล็ดที่มีขนาดเล็ดนั้นควรจะเรียงเป็นแนวเดียวกันในแต่ละแถวไม่กระจัดกระจาย และเกล็ดควรจะแวววาวสะท้อนแสงไฟ ส่วนสีสันนั้นจะขาวหรือแดงก็ควรจะเป็นสีที่เข้มสด
4ปลาที่มีสง่าราศี เมื่อมองโดยภาพรวมแล้ว รูปโฉมและการว่ายของปลาตัวนั้นต้องดูมีสง่าราศี
5. การว่ายน้ำของปลารันชู สำคัญเหมือนกันเพราะปลาที่ไม่ได้มาตราฐานมันจะมีการว่ายที่บ่งบอกให้รู้เช่นกัน สำหรับลีลาการแหวกว่ายของปลา จะต้องมีลีลาที่ปราดเปรียว ไม่อืดอาดหรือเชื่องช้าและไม่ว่ายด้วยท่าทีที่แปลก ๆ เหมือนจะบ่งบอกให้รู้ถึงลักษณะหางที่ไม่ดี

สีและลวดลายมาตราฐานของปลาทองรันชู

      (1) โคมาโดะ บนส่วนหัวที่เป็นสีแดงจะเห็นเป็นจุดเหลี่ยมสีขาวขนาดเล็กปรากฎ
      (2) โอมาโดะ บนส่วนหัวที่เป็นสีแดงเห็นเป็นจุดเหลี่ยมสีขาวขนาดใหญ่ปรากฎชัดเจน
      (3) เม็ง คาบุร ส่วนหัวเท่านั้นที่เป็นสีแดง ส่วนอื่น ๆ จะป็นสีขาว หรือลวดลายก็ได้
      (4) เม็ง จิโร่ ส่วนหัวเท่านั้นที่เป็นสีขาว ส่วนอื่น ๆ จะป็นสีแดง หรือลวดลายก็ได้
      (5) คันชาชิ บนส่วนหัวที่เป็นสีขาวจะปรากฏสีแดงที่ปลายตาเล็กน้อย
      (6) ตันโจ จะมีสีแดงปรากฏเด่นอยู่ที่ส่วนหัว ซึ่งเป็นสีขาว
      (7) ฮิโนะมาร บนสันหลังที่เป็นสีขาวจะปรากฏเป็นวงกลมสีแดงดุจดังดวงอาทิตย์
      (8) สุอากะ นอกจากบริเวณครีบหางแล้ว ตั้งแต่ส่วนหัวลงมาจะเป็นสีแดงทั้งหมด
      (9) โซโจ ตั้งแต่ส่วนหัวจรดหางจะไม่มีสีอื่น ๆ เลย นอกจากแดงทั้งตัว
      (10) อะสุกิ ซาระสะ มีลวดลายเป็นจุดแต้มสีแดงคล้ายเม็ดถั่วแดงอยู่บริเวณด้านข้างลำตัว
      (11) โคชิ จิโร่ ความหมายตามชื่อก็คือมีส่วนเอวเป็นสีขาว จะสังเกตได้ว่าที่โคนหางเป็นสีขาวคั่นกลาง
      (12) คาสึ บุชิ ลักษณะคล้ายกับสวมหมวกสีแดงคาดอยู่
      (13) อิจิ มงจิเป็นลักษณะที่มีลายพาดขวางสลับเฉียงกันระหว่างสีแดงกับสีขาวเริ่มตั้งแต่ปากลงมา
      (14) คุจิ เบนิ สีขาวเป็นพื้นแต่จะมีสีแดงแต้มที่ริมฝีปากและที่หางอีก จุด

ปลาทองหัวสิงห์ตันโจ

ปลาทองหัวสิงห์ตันโจ

ปลาทองที่มีลักษณะแตกต่างจากพันธุ์อื่น ๆ โดยสิ้นเชิง นั่นคือ
ปลาทองชนิดนี้แทนที่จะมีวุ้นขึ้นดกหนา
เหมือนปลาหัวสิงห์สายพันธุ์อื่น ๆ แต่กลับ มีเยื่อจมูกยื่นยาว
ออกมาทำให้แลดูแปลกตาออกไป
 ส่วนวุ้นบนหัวโดยมากจะมีลักษณะบางจนแทบมองไม่เห็น
และโดยทั่วไปปลาทองสายพันธุ์นี้จะ
มีช่วงลำตัวยาวและเพรียวกว่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่น ๆ
 สำหรับหลักเกณฑ์ความสวยงาม 
พิจารณาจากความสวยงามของเยื่อจมูกของปลาเป็นหลัก ส่วนลักษณะอื่น ๆ ก็ยึดหลักเกณฑ์
เดียวกันกับการตัดสินปลาทองหัวสิงห์ทั่วไป

ปลาทองสายพันธุ์นี้ในบ้านเราไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนัก สาเหตุอาจเป็นเพราะทรวดทรงที่
ไม่สวยงามเท่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์ที่มีวุ้นดกหนา ขณะเดียวกันก็เป็นปลาที่แพร่พันธุ์ได้
ยากมาก และส่วนมากลูกปลาที่เพาะได้ก็จะพิการเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงทำให้ปลา
ชนิดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากนักเพาะพันธุ์ปลาทองมืออาชีพเช่นกันเพราะเพาะแล้ว
ไม่ค่อยคุ้ม

ปลาทองหัวสิงห์ปอมปอม


ปลาทองหัวสิงห์ปอมปอม


ปลาทองที่มีลักษณะแตกต่างจากพันธุ์อื่น ๆ โดยสิ้นเชิง 
นั่นคือปลาทองชนิดนี้แทนที่
จะมีวุ้นขึ้นดกหนาเหมือนปลาหัวสิงห์สายพันธุ์อื่น ๆ
 แต่กลับ มีเยื่อจมูกยื่นยาวออกมา
 ทำให้แลดูแปลกตาออกไป ส่วนวุ้นบนหัวโดยมาก
จะมีลักษณะบางจนแทบมองไม่เห็น
 และโดยทั่วไปปลาทองสายพันธุ์นี้จะมีช่วงลำตัวยาวและ
เพรียวกว่าปลาทองหัวสิงห์
สายพันธุ์อื่น ๆ
สำหรับหลักเกณฑ์ความสวยงาม พิจารณาจากความสวยงามของเยื่อจมูกของปลา
เป็นหลัก ส่วนลักษณะอื่น ๆ ก็ยึดหลักเกณฑ์เดียวกันกับการตัดสินปลาทองหัวสิงห์ทั่วไป
ปลาทองสายพันธุ์นี้ในบ้านเราไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนัก สาเหตุอาจเป็นเพราะทรวดทรง
ที่ไม่สวยงามเท่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์ที่มีวุ้นดกหนา ขณะเดียวกันก็เป็นปลาที่แพร่พันธุ์
ได้ยากมาก และส่วนมากลูกปลาที่เพาะได้ก็จะพิการเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงทำให้ปลา
ชนิดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากนักเพาะพันธุ์ปลาทองมืออาชีพเช่นกันเพราะเพาะแล้ว
ไม่ค่อยคุ้ม


ปลาทองพันธุ์ ชูบุงกิง

ปลาทองพันธุ์ ชูบุงกิง



ปลาทองชูบุงกิง (SHUBUNKIN) มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ

อยู่ด้วยกันหลายชื่อ อาทิเช่น 

SPECKLED GOLDFISH, 

HARLEQUIN GOLDFISH,

 VERMILION GOLDFISH 

และ RED BROCADE เป็นปลาที่เพิ่งเกิดขึ้นในต้นศตวรรษที่

 20 นี้ โดยนักเพาะพันธุ์ปลาทองจากนครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

 คือ นาย Kichigoro Akiyama โดยนำปลาทอง ชนิด คือ

 ปลาทองพันธุ์ตาโปน 3 สี (5สี) (Calico Telescope Eye) 

มาผสมข้ามพันธุ์กับปลาทองพันธุ์วะกิง (Japanese Golden)

 ซึ่งมีหางเดี่ยว หรือหางซิว (Single Tial) ต่อมาก็นำมาผสมกับ

ปลาทองพันธุ์ Scarlet Crucian (Hibuna) จากนั้นเขาก็

ได้คัดเลือกลูกปลาขึ้นมาราว 14-15 ตัวจากจำนวนปลาทั้งสิ้น

 หมื่นกว่าฟอง ซึ่งลูกปลาที่เขาเพาะพันธุ์ขึ้นได้มีหางยาวมี

เกล็ดบางใสและมีสีหลากหลายสีอยู่ในตัวเดียวกัน 

ซึ่งนาย Shinnosuke Matsubara ได้ขนานนามให้ปลาตัวนี้ว่า

 “Red Marked Calico” หรือ "Shubunkin"ต่อมาลูกปลาทอง

ชูบุงกิงได้เข้าไปแพร่หลายในประเทศอังกฤษในสมัยราชาภิเษก

อวยพรเจ้ายอร์ชที่ 6 ในสมัยนั้นได้มีพ่อค้าปลาบางรายได้ตั้ง

ชื่อปลาชนิดนี้ว่า “Coronation Fish” หรือปลาราชาภิเษก

 ทั้งนี้เพราะปลาชนิดนี้มีจุดประขึ้นเป็นสีต่างๆ แต่ชื่อนี้ก็ใช้

เพียงเพื่อผลประโยชน์ในเชิงการค้าเท่านั้นและในเวลาต่อ

มาปลาทองชนิดนี้ ก็ได้วิวัฒนาการจนได้ปลาทอง สายพันธุ์ 

London Shubunkin และ Bristol Shubunkin ซึ่งปลาทองทั้ง 

สายพันธุ์จะมีรูปร่างและสีสันที่เหมือนๆ กัน ต่างกันตรง

ที่ปลาทอง Bristol Shubunkin จะมีครีบและหางยื่นยาวและสูงกว่า 

แต่แบบ London Shubunkin ดูจะได้รับความนิยมมากว่า

ในประเทศอังกฤษ

ปลาทองชูบุงกิงเป็นปลาทองที่มีความแข็งแรง

อดทนมากชนิดหนึ่ง

 มีเกล็ดบางใสแต่ไม่เงาแวววาว

เหมือนปลาทองทั่วๆไป ลำตัวมีลักษณะคล้าย

ปลาทองสามัญแต่จะ

เพรียวกว่า มีครีบที่สมบรูณ์และยาว

กว่า ปลายหางจะมนกลม เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วและต้องการพื้นที่ในที่เลี้ยง

พอสมควร ปลาทองชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดถัวเฉลี่ยราว นิ้ว มีอายุยืนยาวราว

 10-20 ปี จัดว่าเป็นปลาทองที่ค่อนข้างเลี้ยงง่าย สามารถเลี้ยงได้ในกลางแจ้งตลอดทั้งปี

 เป็นปลาที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี สามารถเลี้ยงได้ในที่ๆ

แม้มีอุณหภูมิต่ำ แต่ไม่ควรให้ปลาอยู่ในที่ๆ มีอุณหภูมิต่ำกว่า60 องศาF

 เป็นระยะเวลานานๆ เพราะความเย็นอาจทำให้กระเพาะลมของปลาเกิดการผิดปกติ

 ปลาชนิดนี้มีด้วยกันหลากหลายสี อาทิเช่น สีแดง ขาว ส้ม ทอง น้ำตาล ดำ เหลือง ม่วงเข้ม

 น้ำเงินเทาสำหรับในบ้านเราปลาทองพันธุ์ชูบุงกิงมันรู้จักดีในนามของ ปลาทองหางซิว 

แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลายนัก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเป็นปลาทองที่รูปร่าง

ธรรมดาๆ จึงทำให้ไม่ค่อยเป็นที่สนใจกันเท่าใด แต่ถ้าหากท่านนักเลี้ยงปลาได้รู้ถึงความ

ยากเย็นกว่าที่จะได้ปลาทองพันธุ์นี้มา คิดว่าคงมีหลายๆท่านอาจจะหันมาสนใจปลาทองพันธุ์

นี้กันบ้าง นอกจากนี้ปลาทองชนิดนี้ยังเป็นปลาที่เหมาะ

ที่จะนำมาเลี้ยงไว้ในบ่อหรือสระเล็กๆ เพราะเป็นปลาที่มีความอดทนและสามารถเลี้ยงในกลางแจ้ง

ได้อีกด้วยคราวนี้เราจะมาคุยกันถึงลักษณะของปลาทองพันธุ์ชูบุงกิงที่จัดว่าสวย ลักษณะสำคัญของ

ปลาทองพันธุ์นี้คือหาง หางจะต้องเป็นแบบหางซิวและจะต้องยาว ปลาทองชนิดนี้หากมีหางยาวมาก

เท่าใดก็จะเป็นที่นิยมมากเท่านั้น สำหรับในด้านของสีสัน หากมีหลายสีก็จะเป็นที่นิยมกัน 

แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุดจะต้องมี สี เป็นจุดประทั่วทั้งตัว ปลาที่มีสีเหลืองมากว่าสีอื่นจะ

ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเลี้ยงกัน

 

ปลาทองพันธุ์โคเม็ท

                                                 ปลาทองพันธุ์โคเม็ท



ปลาทองโคเมทเป็นปลาที่คัดสายพันธุ์ได้ที่อเมริกา โดยการพัฒนามาจากปลาทอง
ธรรมดา ได้ปลาที่มีครีบยาวขึ้น โดยเฉพาะหางจะยาวไม่น้อยกว่า 3/4 ของความยาว
ลำตัว เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายว่ายน้ำได้รวดเร็ว ปราดเปรียวต้องการเนื้อที่สำหรับอยู่
มากกว่าปลาชนิดอื่น จึงเหมาะแก่การเลี้ยงไว้ในบ่อมากกว่าเลี้ยงไว้ในตู้หรืออ่างปลา ในอเมริกานิยมเลี้ยงกันมาก เป็นปลาที่ราคาค่อนข้างแพงในยุโรปเมื่อสิบกว่า
ปีก่อนก็ได้รับความนิยมไม่น้อย มาช่วงระยะหลังนี้ออกจะไปซาไปแต่สำหรับบ้าน
เรามีคนเลี้ยงกันน้อยอาจเป็นด้วยความรูปร่างที่คล้ายปลาคาร์พคนจึงหันมาเลี้ยง
ปลาคาร์พ ตามกระแสนิยมมากกว่า แต่ถ้าต้องการปลาทองที่มีความปราดเปรียว และอ่อนช้อยอยู่ในตัวเดียวกัน ปลาทองโคเมทน่าจะเป็นคำตอบที่ดี
รูปร่างลักษณะของปลาทองโคเมทที่ได้สัดส่วนมาตรฐานสากล
ลำตัวด้านกว้างควรอยู่ระหว่าง 3/7 ถึง 3/8 เท่าของความยาว
ครีบอกและครีบท้องจะต้องเป็นครีบคู่ แต่ครีบหลังและครีบทวารจะต้องเป็นครีบเดี่ยว
ครีบหางจะต้องยาวไม่น้อยกว่า 3/4 ลำตัว
ปลายครีบทุกครีบจะมีลักษณะแหลม 


สีมีทั้งสีเดียวกันตลอดทั้งตัวหรือเป็นลายแถบสลับสีระหว่าง สีส้ม ขาวเงิน เหลือง ถ้า
เป็นชนิดห้าสี สีพื้นของลำตัวจะต้องเป็นสีน้ำเงินและมีไม่น้อยกว่า 25 %
ทั้งหมด โดยแถบสีต่างๆ ได้แก่ สีม่วง แดง ส้ม เหลือง น้ำตาล โดยมีลายแต้มจุดเป็น
สีดำปกติปลาทองโคเมทเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายไม่ต้องเอาใจใส่มากเหมือนปลาทอง
สายพันธุ์
อื่นๆแต่ถ้าเลี้ยงไว้ในบ่อกลางแดดจะช่วยให้ปลามีสีสดสวยยิ่งขึ้นแต่ก็ควรมีร่มไว้ให้
ปลาหลบแดดบ้าง โดยทั่วไปปลาทองโคเมทจะมีอายุระหว่าง 5-10 ปี

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

ปลาทอง พันธุ์เกล็ดแก้ว

 
                                                       ปลาทอง พันธุ์เกล็ดแก้ว





ปลาทองลูกกอล์ฟใต้น้ำสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยจนเป็นที่รู้จักและยอมรับของทั่วโลกว่าเป็นปลาทองที่แปลกไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้วนี้เป็นปลาที่ชาวไทยเป็นผู้เพาะพันธุ์ขึ้นสำเร็จเป็นชาติแรกของโลก ซึ่งปลาทองสายพันธุ์นี้มีลักษณะแตกต่างไปจากปลาทองสายพันธุ์อื่นๆ โดยสิ้นเชิง นั่นคือเป็นปลาทองที่มีลำตัวกลมมากจนคล้ายลูกปิงปอง โดยเฉพาะเกล็ดบนลำตัวจะมีลักษณะนูนขึ้นจนเป็นตุ่มซึ่งผิดกับเกล็ดของปลาทองโดยทั่วไปส่วนหัวมีขนาดเล็กมากซึ่งอาจจัดได้ว่าเป็นปลาทองที่มีส่วนหัวเล็กที่สุดก็ว่าได้ และจากลักษณะพิเศษเฉพาะนี้ทำให้ปลาทองเกล็ดแก้วดังข้ามทะเลไปสร้างชื่อเสียงไกลถึงต่างประเทศให้เป็นที่รู้จัก ในนามของ "PEARL SCALE GOLDFISH"
สำหรับประวัติความเป็นมาของปลาทองสายพันธุ์นี้ยังไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจากผู้เพาะพันธุ์ไม่ได้นำบันทึกการเพาะออกเผยแพร่จึงไม่อาจสืบทราบประวัติที่มาของปลาทองสายพันธุ์นี้ได้ แต่โชคร้ายที่ถึงแม้ว่าปลาทองพันุ์เกล็ดแล้วจะเป็นปลาทองที่เพาะพันธุ์ขึ้นได้ในประเทศไทยเราเองก็ตาม แต่กลับเป็นปลาที่ไม่ได้รับความนิยมจากนักเลี้ยงในบ้านเรา เหตุผลเท่าที่ได้ฟังมาเป็นเพราะปลาทองพันุ์นี้เป็นปลาที่เกล็ดยื่นนูนออกมาทำให้แลดูไม่น่ารักแถมบางคนบอกดูแล้วน่าเกลียดมากกว่า แต่ถ้าพูดถึงความยากง่ายในการเลี้ยงแล้วปลาทองสายพันธ์นี้จัดอยุ่ในเกณฑ์ค่อนข้างเลี้ยงยากสักหน่อย เพราะเป็นปลาที่เปราะบางและป่วยเป็นโรคได้ง่าย

สำหรับเทคนิคในการเลี้ยงก็ใช้หลักการเดียวกับการเลี้ยงปลาทองทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้มีผู้ทดลองเพาะพันธุ์ปลาทองพันธุ์นี้จนได้ปลาสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ทีรูปทรงแตกต่างออกไปมากมาย เช่นปลาทองเกล็ดแก้วชนิดหางสั้น ชนิดหางยาว ชนิดหัววุ้น และชนิดหัวมุก ฯลฯ และบ้างก็เน้นไปทางสีสันโดยการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีสีสันแปลกๆ ออกไป แต่จุดใหญ่คือการคงไว้ซึ่งเกล็ดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
สำหรับปลาทองเกล็ดแก้วที่เป็นที่นิยมว่าสวยควรมีลำตัวกลมเหมือนลูกปิงปองเกล็ดบนลำตัวจะต้องอยู่ครบทุกเกล็ด เกล็ดที่ดีควรขึ้นเรียงเป็นระเบียบ ส่วนหัวควรคอดเล็กแล้วปลายแหลม ส่วนหางควรเบ่งบานแต่จะยาวหรือสั้นก็พิจารณาตามสายพันธุ์ของปลาทองนั้นๆ สำหรับสีบนลำตัวเท่าที่นิยมเลี้ยงๆกัน โดยมากจะเป็นปลาที่มีสีขาวสลับแดงอยู่ในตัวเดียวกัน ปลาที่มีสีขาวทั้งตัวเป็นปลาที่ไม่สู้ได้รับความนิยมเท่าที่ควร  

ปลาทองตากลับ

ปลาทองตากลับ 


ปลาทองสายพันธุ์ตากลับ หรือ ปลาทองเซเลสชัส CELESTIAL GOLDFISH
 เป็นปลาทองที่มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ชาวจีนเรียกกันว่า 
"โซเตงงัง CHOTENGAN" ซึ่งมีความหมายว่า ปลาตาดูฟ้าดูดาวหรือตามุ่งสวรรค์
สาเหตุเนื่องจากปลาทองชนิดนี้มีตาหงายกลับขึ้นข้างบนผิดจากปลาปลาทองชนิดอื่นๆ นั่นเอง เคยมีนิทานจีนอยู่เรื่องหนึ่งเล่าต่อกันว่าปลาตัวนี้เกิดขึ้นในสมัยราชาภิเษกฮ่องเต้จีนพระองค์หนึ่ง โดยองค์ฮ่องเต้ได้ทอดพระเนตรลงในบ่อปลาก็พบว่าปลาทองตัวนี้ได้พลิกตาขึ้นมาจ้องมองพระองค์คล้ายกับต้องการแสดงการคารวะสรรเสริญพระองค์ มีบางตำนานได้กล่าวไว้ว่า ปลาทองพันธุ์ตาโปน TELESCOPE EYE ซึ่งถูกนำไปเลี้ยงไว้ในไหที่มีปากแคบ ทำให้ปลาต้องคอยแหงนตาขึ้นมองข้างบนอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากแสงสว่างภายในไม่เพียงพอ จนกระทั่งทำให้ตาของปลาหงายขึ้นตลอดกาล ซึ่งเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงเรื่องที่ชาวจีนเล่าขานกันมาแต่โบราณกาล สำหรับประวัติแท้จริงของต้นกำเนิด ปลาทองพันธุ์นี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันเป็นที่แน่ชัด
ลักษณะของปลาทองชนิดนี้จะมีลำตัวคล้ายกับปลาทองหัวสิงห์ แต่ครีบและหางจะไม่ตั้งแผ่เหมือนปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ ในสมัยแรกนั้น ปลาทองพันธุ์นี้มีครีบหางที่ยาว ความยาวของหางพอๆ กับความยาวของลำตัว สีของตัวปลาเป็นสีส้มออกทองเป็นปลาที่ไม่มีครีบกระโดงหลังเหมือนปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ ต่อมาในราวปี ค.ศ. 103 ชาวญี่ปุ่นได้นำปลาชนิดนี้ไปเลี้ยงและผสมพันธุ์จนได้ปลาทองพันธุ์ตากลับที่มีครีบหางสั้นกว่าพันธุ์ดั้งเดิมของจีน ซึ่งชาวญี่ปุ่นได้ตั้งชื่อปลาชนิดนี้ว่า DEMERANCHU และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาปลาทองพันธุ์นี้ก็เป็นที่รู้จักและนิยมเลี้ยงกันแพร่หลายมากขึ้น แต่เนื่องจากปลาทองพันธุ์นี้เป็นปลาที่ค่อนข้างเลี้ยงยาก สาเหตุเพราะปลาทองสายพันธุ์นี้ตาไม่ค่อยดีและมีประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นที่ดีคล้ายกับปลาทองพันธุ์ตาโปนทั้งหลาย ซึ่งถ้าเราให้อาหารสดที่ยังมีชีวิตปลามักว่ายไล่กินไม่ค่อยทันเพราะมองไม่ค่อยเห็น ดังนั้นการเลี้ยงปลาชนิดนี้จึงควรให้อาหารตรงหน้าเพื่อให้ปลาอมองเห็นได้ชัด และไม่ควรเลี้ยงปลาทองพันธุ์นี้ร่วมกับปลาทองพันธุ์อื่น เพราะมันอาจถูกรังแกหรือถูกปลาทองตัวอื่นแย่งกินอาหารหมด

สำหรับชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยง ควรเลือกให้อาหารสำเร็จรูปจะดีกว่า เพราะปลาสามารถดมกลิ่นและกินอาหารได้สะดวก ปลาทองสายพันธุ์นี้ไม่เหมาะสำหรับนักเลี้ยงปลาทองมือใหม่ เพราะเป็นปลาที่ค่อนข้างเปราะบาง และต้องการความเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ ไม่ควรเลี้ยงปลาทองชนิดนี้ในที่กลางแจ้งที่มีแสงจัด เนื่องจากแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ทำให้ปลาสู้แสงไม่ไหว และอาจถึงกับทำให้ปลาตาบอดได้ สำหรับ อุณหภูมิที่เหมาะสมจะเลี้ยงปลาพันธุ์นี้ควรอยู่ในช่วงระหว่าง 15-20 องศาเซลเซียส เนื่องจากเป็นปลาที่อยู่ในเมืองหนาว จัดว่าเป็นปลาที่ชอบอากาศเย็นเป็นพิเศษ สำหรับอายุขัยของ