ประวัติปลาทอง
ปลาทองเป็นสัตว์น้ำที่ชื่อมีความหมายล้ำค่าแก่ผู้ที่ได้ครอบครอง และยังเป็นปลาที่มีผู้นิยมเลี้ยง มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันด้วยความหลากหลายของสายพันธุ์ทำให้มีความต้องการของตลาด ทั้งใน ประเทศและต่างประเทศสูงมาก อาชีพการเพาะเลี้ยงปลาทองสามารถทำรายได้ให้กับครอบครัวได้เป็น อย่างดีปลาทอง บางครั้งนิยมเรียกว่า ปลาเงินปลาทอง มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Goldfishเป็นปลาน้ำ จืด อยู่ในครอบครัว (Family) Cyprinidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus (Linn.)มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีนตอนใต้ ในธรรมชาติชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำ ในสภาพแวดล้อมที่ดีปลาทองอาจมีชีวิตยืนยาวอยู่ได้ 20-30ปี แต่ปลาทองที่เลี้ยงไว้ดูเล่นจะมีช่วงชีวิต ประมาณ 7-8 ปี พบจำนวนน้อยมากที่มีอายุถึง 20 ปี ปัจจุบันประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด
การเลี้ยงปลาทองได้รับความนิยมมากในระหว่างปี พ.ศ. 1243 - 1343 โดยชาวจีนในสมัยนั้นนิยมเลี้ยงปลาทองไว้ในสระน้ำในบริเวณรั้วบ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 1716 - 1780 มีการนำปลาทองมาเลี้ยงในกรุงปักกิ่ง โดยนิยมเลี้ยงในอ่างกระเบื้องเคลือบ การเลี้ยงปลาทองเพื่อการจำหน่ายจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว เริ่มมีการเพาะพันธุ์ปลาทองและได้พันธุ์ปลาแปลกๆมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2043 จึงมีการนำปลาทองเข้าไปเลี้ยงในเมืองซาไก ประเทศญี่ปุ่น แต่ได้รับความสนใจมากในปี พ.ศ. 2230 สำหรับประเทศอื่นๆที่มีรายงานเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาทอง ได้แก่การเพาะเลี้ยงปลาทอง
ปลาทองหรือปลาเงินปลาทอง มีชื่อสามัญว่า Goldfish เป็นปลาสวยงามน้ำจืดที่นิยมเลี้ยงมานานแล้ว จัดเป็นปลาที่ติดตลาด คือเป็นปลาที่มีจำหน่ายในร้านขายปลาสวยงามทุกร้านและสามารถขายได้ราคาดีตลอดปี โดยทั่วไปจัดว่ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ซึ่งชาวจีนจะเรียกปลาทองที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติว่า Chi Yu และเรียกปลาทองที่เลี้ยงอยู่ตามบ้านว่า Chin Chi Yu ในประเทศญี่ปุ่น ปลาทองได้รับความนิยมเลี้ยงกันอย่างมาก และมีการพัฒนาวิธีการเพาะพันธุ์ มีการคัดเลือกปลาที่มีลักษณะเด่นต่างๆมาผสมพันธุ์กัน ทำให้ได้ปลาทองที่มีลักษณะสวยงามขึ้นมาหลายชนิด และได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ
ปี พ.ศ. 2234 ที่ประเทศอังกฤษ
ปี พ.ศ. 2323 ที่ประเทศฝรั่งเศส
ปี พ.ศ. 2419 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
สำหรับในประเทศไทยไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าราวปี พ.ศ. 1911 - 2031
ปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบในธรรมชาตินั้น มีรูปร่างคล้ายปลาไนแต่มีขนาดเล็กกว่าปลาไนมาก คือ เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อม แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวลาด ปากมีขนาดเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก ีลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือสีส้ม ส่วนท้องสีจางกว่าลำตัว หรือสีขาว
เนื่องจากมีการนำปลาทองไปเลี้ยงในประเทศต่างๆ ประกอบกับเป็นปลาที่ผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์กับปลาในกลุ่มเดียวกันชนิดอื่นๆได้ง่าย ทำให้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองชนิดใหม่ๆออกมาหลายชนิด มีลักษณะเด่นสวยงามแตกต่างกันไป ซึ่งลักษณะเด่นๆที่สำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่
- ครีบหาง เปลี่ยนแปลงจากหางแฉก หรือหางเดี่ยว เป็น หางพวง หรือหางคู่
- ครีบก้น เปลี่ยนแปลงจากครีบเดี่ยว เป็น ครีบคู่
- ครีบหลัง บางชนิดจะไม่มีครีบหลัง
- ส่วนหัว บางชนิดจะมีลักษณะที่พองออกเป็นวุ้น
- ตา บางชนิดมีกระบอกตาที่โป่งพองออก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น